วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ประวัติผู้เขียนบล็อค



ประวัติผู้เขียนบล็อค

ชื่อ นางสาวหทัยชนก จันทรเสนา 583050185-6
ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เสนอ ผศ.ดร.พรสวรรค์ วงค์ตาธรรม
รายวิชา การออกแบบและผลิตสื่อดิจิทัลทางการศึกษา 237218

วันศุกร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2560

Project 5 : Video Diptych



Video Diptych

     และแล้วเราก็เดินทางกันมาถึงโปรเจ็กสุดท้ายของรายวิชานี้ ซึ่งงานที่เราได้รับมอบหมายก็คือออ การถ่ายวิดีโอในหัวข้อ “To Change” และต้องใช้วิธีการถ่ายแบบ Diptych ซะด้วย ดังนั้นกลุ่มของพวกเราจึงระดมสมองกันอย่างหนักว่าเราจะทำหัวข้ออะไรยังไงกันดี จนออกมาเป็นวิดีโอที่มีชื่อหัวข้อว่า......“Then and Now” นั่นเอง โดยเราต้องการจะสื่อถึงสิ่งที่ตรงข้ามกันของอดีตและปัจจุบัน ของแต่ก่อนและทุกวันนี้ แล้วจะออกมาเป็นยังไงไปดูวิดีโอด้วยกันเลยยย


คลิปที่ 1 เป็นคลิปที่จะเห็นเป็นเครื่องแสกนนิ้วมือกับ การเขียนชื่อ เราจะสื่อถึงว่าคนในสมัยก่อนระบบเข้างานหรืออะไรต่างๆ มักจะใช้เป็นการเขียนแต่ในปัจจุบันเทคโนโลยัพัฒนาไปไกลโดยจะใช้เครื่องแสกนนิ้วมือ แสกนใบหน้าแทน


คลิปที่ 2 เป็นรูปคนอ่านหนังสือ กับคนเล่นคอมพิวเตอร์เราจะสื่อถึงว่าหากคนในสมัยก่อนต้องการค้นหาข้อมูลอะไรก็ตามจะต้องหาเอาในหนังสือ แต่คนในปัจจุบันนี้นั้นสามารถหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตผ่านทางคอมพิวเตอร์ได้


คลิปที่ 3 สื่อถึงเรื่องรองเท้า ที่ในสมัยก่อนยังไม่มีการพัฒนามากนักรองเท้าจะเป็นแบบสบายๆ สวมใส่ง่ายเป็นรองเท้าแตะ แต่ทุกวันนี้มีการพัฒนาเป็นรองเท้าหลากแบบเช่นรองเท้าหุ้มส้นนั่นเอง


คลิปที่ 4 กลุ่มเราต้องการสื่อถึงการเดินทางคมนาคมในสมัยก่อนการเดินจะเป็นหลักในการเดินทาง แต่ทุกวันนี้รถจักรยานยนต์ที่ถูกพัฒนามาเพื่อทุ่นแรงก็เป็นที่นิยมอย่างมาก

คลิปที่ 5 สุดท้ายนี้เราต้องการสื่อถึงโลกปัจจุบันที่มีความรวดเร็ว คนในสมัยก่อนหากต้องการจะติดต่อกันต้องใช้เวลานานกว่าจะติดต่อกันได้ เช่นต้องเขียนจดหมายกว่าจะส่งไปถึงก็เป็นเวลานาน ต่างจากทุกวันนี้เพียงเสี้ยววินาทีก็ทำให้คนได้คุยกัน ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์สนทนาพูดคุยผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ หรือการโทรศัพท์ก็ดีก็ทำให้คนติดต่อกันได้เร็วขึ้น





วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2560

Project 4 : Photograph ||| ภาพสุดท้าย บทสรุปแห่งผลงาน


                      หลังจากที่กลุ่มของเราได้ถ่ายภาพผลงานไปมากมายหลายรูปภาพ และก็คิดไว้หลากหลาย Concept สุดท้ายแล้วกลุ่มของเราก็เลือกรูปภาพๆหนึ่งซึ่งมีความหมายแบะความสวยงามนอกจากนี้กลุ่มเรายังคิดว่าภาพนี้ตรงกับ Concept "TO CHANGE" มากที่สุด เราไปดูกันเลยว่าภาพเป็นยังไง




วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

Project 4 : Photograph || มาเริ่มถ่ายภาพกันเถอะ


หลังจากที่กลุ่มของเราได้รับหัวข้อ และค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิควิธีการตัดต่อภาพแบบ Diptych เรียบร้อยแล้วกลุ่มของเราก็ได้เริ่มลงมือถ่ายภาพไว้มากมายเรามาดูกันเลยว่ามีภาพใดบ้างงง

แบบที่ 1 รูปถ่ายรูปแรกเป็นการถ่ายภาพสองมุมคือมุมก้มและมุมเงย โดยโทนภาพเราจะแต่งเป็นโทนขาวดำ ให้ความรู้สึกเศร้าเหงาและหว้าเหว่ เราต้องการถ่ายทอดมุมมองของคนที่กำลังเศร้า แต่เป็นการมองต่างมุมสื่อถึงมนุษย์เราหากมองกันต่างมุมแล้วย่อมได้ความหมายที่แตกต่างกัน หากเราเลือมองในสิ่งที่ดีเราจะมองเห็นแง่มุมดีๆ แต่หากเรามองในแง่มุมที่โหดร้ายโลกก็จะโหดร้าย


แบบที่ 2 เป็นการแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของใบไม้ตั้งแต่ยังสดใสใบสวย จนถึงวันที่ร่วงโรยราแต่ถึงแม้ร่วงไปแล้วก็ยังเห็นความงดงาม สื่อถึงว่าหากเราทำความดีมากมายหากในวันที่ตายสิ้นชีวิตไปแล้วเราจะเหมือนยังใบไม้นี้ร่วงโรยราไป แต่ยังคงความงดงามเอาไว้เช่นคนหากตายไปก็ยังทิ้งความดีไว้ นัยหนึ่งจะสื่อว่าไม่มีใครหนีความแก่พ้นทุกคนมี เกิด แก่ เจ็บ และตาย


แบบที่ 3 นี้เป็นรูปของคนที่กำลังเดินทางตามลูกศรคือ เครื่องหมายขึ้นและลง คือต้องการสื่อถึงว่าชีวิตคนเรานั้นมีขึ้นก็ต้องมีลงเป็นเรื่องธรรมดา ไม่มีใครที่จะอยู่เทียมฟ้าตลอดไปนั่นเองเป็นการเปลี่ยนแปลงของชีวิตคนเราอย่างหนึ่ง


แบบที่ 4 ในรูปจะเป็นรูปคอมเฟซเวอร์แอร์กับอ่างปลา ต้องการสื่อถึงความเปลี่ยนแปลงในแง่ของพลังงานที่ว่าในอดีตมนุษย์นั้นพึ่งพิงธรรมชาติอยู่กับธรรมชาติมากกว่าปัจจุบันที่โลกเราได้มีการพัฒนาเอานวัตกรรมใหม่ๆต่างๆเข้ามาใช้ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีการก้าวไปอย่างไม่หยุดนิ่ง และมนุษย์ก็หันไปทำลายธรรมชาติมากกว่าการรักษาธรรมชาตินั่นเอง



วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560

Project 4 : Photograph | "To Change" มารู้จัก Diptych กันเถอะ

                      หลังจากที่เราได้ผ่านไปถึงสามโปรเจ็ค งานถัดมาก็คืออออออ งานถ่ายภาพนั่นเองงง ว้าววว  ซึ่งงานถ่ายภาพนี้นั้นได้รับหัวข้อคือ "TO CHANGE" การเปลี่ยนแปลงนั่นเอง โดยใช้เทคนิคการตัดต่อภาพแบบ Diptych
DIPTYCH คือ การนำภาพสองภาพมาเชื่อมต่อกัน ด้วยมุมกล้องแบบต่างๆ มีการซุมเข้า ซูมออก เป็นแนวนอนหรือแนวตั้งก็แล้วแต่ไอเดียของแต่ละคน แต่ละมุมมอง  เมื่อมองแล้วให้ทราบได้ว่าภาพสองภาพนั้นเป็นภาพที่สื่อถึงซึ่งกันและกัน  หรือให้แนวคิดที่แตกต่างกันได้  โดยการวางภาพสองภาพใกล้ๆกัน โดยมีความสัมพันธ์กันของภาพ แต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ภาพสองภาพอาจแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงก็ได้ แต่เมื่อมองสองภาพรวมกันแล้วจะต้องมีความสอดคล้องกัน โดยเราสามารถใช้เส้น รูปร่าง มาทำให้ภาพสองภาพเชื่อมกันได้

ตัวอย่างภาพแบบ Diptych








วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Project 3 : E-book || หนทางสู่การเป็น E-book แสนยอดเยี่ยม


               หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับ E-book ไปอย่างเรียบร้อยแล้วขั้นถัดมาก็คือการลงมือทำ
แต่ก่อนที่กลุ่มเราจะได้ลงมือทำเราจะต้องมาเลือกเนื้อหาที่ะนำลงไปใส่ในตัวหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้ก่อน โดยกลุ่มเราจะสังเคราะห์เอาเฉพาะเนื้อหาที่สำคัญๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน รวมถึงรูปภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อหา เพื่อที่ E-book  ของเราจะได้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้นและเป็นการนำเสนอข้อมูลตามแบบของ E-book ที่จะต้องมีทั้งรูปภาพและวิดีโอ
 สำหรับโปรแกรมที่นิยมนำมาสร้าง E-book
 โปรแกรมชุด Flip Album
 โปรแกรม DeskTop Author
 โปรแกรม Flash Album Deluxe
สำหรับกลุ่มของพวกเราใช้โปรแกรม Flip Album
โดยเนื้อหาจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Computer Networking
ส่วนนี้จะเป็นส่วนของหน้าปกซึ่งเราจะใช้สีที่ดูสบายตาคือสีเขียวทำให้ดูเป็นงานที่มีความวิชาการมากยิ่งขึ้น และรูปที่ใช้จะโยงไปถึงส่วนของสิ่งต่างๆที่นำมาเชื่อมโยงกันของเครือข่ายต่างๆนั้นเอง


ในส่วนถัดมาจากหน้าปกจะเป็นส่วนของคำนำ และสารบัญซึ่งจะมีเหมือนในหนังสือจริงๆเลยก็ว่าได้ แต่ความง่ายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ก็คือเราสามารถกดลัดข้ามหน้าไปหาหน้านั้นได้เลยนั่นเอง








ส่วนตั้งแต่คำนำสารบัญเป็นต้นไปจะเป็นส่วนของเนื้อหาทั้งหมด โดยกลุ่มเราจะเลือกเป็นโทนสีพื้นหลังเป็นสีขาวเพื่อให้ดูสะอาดตาและง่ายต่อการอ่านนอกจากนี้ยังมีการเน้นข้อความที่สำคัญให้เป็นตัวหนังสือตัวใหญ่เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านและเพื่อดึงดูดความสนใจ และแต่ละหัวข้อกลุ่มของเราจะมีการจัดตัวหนังสือแยกสีให้มีความชัดเจนเพื่อที่จะได้ง่ายว่ากลุ่มใดอยู่กับกลุ่มใด หัวข้อย่อยนี้อยู่ในกลุ่มหลักตรงส่วนใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านจดจำประเภทหัวข้อแต่ละอันได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย ทั้งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้ยังมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ทำให้สบายในการอ่านนั้นเอง

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Project 3 : E-Book | เริ่มต้นทำ e-book กัน


หลังจากที่เราได้ทำโปรเจ็กที่ 2 ผ่านไปแล้วเราก็มาเริ่มที่โปรเจ็กที่ 3 กันเล๊ยยยย โดยหัวข้อในการทำ e-book ของเราก็คือ ให้ทำเรื่องใดก็ได้เหมือนเป็นหนังสือที่ให้ความรู้ เหมือนเป็นหนังสือเรียนโดยมีขอบข่ายคือวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาซึ่งก่นที่เราจะไปทำ E-Book เราก็มาดูก่อนว่ามันคืออะไร


E-book ย่อมาจากคำว่า Electronic Book หมายถึงหนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์
อีบุ๊ค (eBook : electronic book) จะเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่ง ในยุคแรกๆ จะเป็นไฟล์แบบ PDF โดยเนื้อหาในไฟล์จะมีลักษณะเหมือนหนังสือจริงๆ ซึ่งจะใช้ในกระบวนการทำเพลท ยิงฟิล์ม ด้วยความที่มี ลักษณะเหมือนหนังสือจริงๆ แต่เป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ ทำให้ได้รับความนิยมในการนำไปใช้งาน เพราะหน้ากระดาษที่ได้จัดวางไว้อย่างไร ก็จะคงอยู่แบบนั้นไม่เปลี่ยนแปลงเหมือนการใช้งานพวกไฟล์ Word แต่ต้องเปิด อ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแท็บเล็ตพีซี

ประเภทของ E-book        
ผู้ผลิตสามารถเลือกสร้าง E-Books ได้ 4 รูปแบบ คือ  
Hyper Text Markup Language (HTML)
Portable Document Format (PDF)
Peanut Markup Language (PML)
Extensive Markup Language (XML)

ข้อเสียของ e-Book
1. ต้องอาศัยพลังงานในการอ่านตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าหรือแบตตารี่
2. เสียสุขภาพสายตา จากการได้รับแสงจากอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์
3. ขาดความรู้สึก หรืออรรถรส หรือความคลาสสิค 
4. อาจเกิดปัญหากับการ ลง hardware หรือ software  ใหม่หรือแทนที่อันเก่า
5. ต้องมีการดูแลไฟล์ให้ดี ไม่ให้เสียหรือสูญหาย
6. การอ่านอาจเกิดอันตรายต่อสายตา
7. เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ง่าย
8. ไม่เหมาะกับบาง format เช่น รูปวาด รูปถ่าย แผนที่ใหญ่ เป็นต้น
ประโยชน์ของ e-Book
     สำหรับผู้อ่าน
       1. ขั้นตอนง่ายในการอ่าน และค้นหาหนังสือ
       2. ไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บหนังสือ
       3. อ่านหนังสือได้จากทุกที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
     สำหรับห้องสมุด
       1. สะดวกในการให้บริการหนังสือ
       2. ไม่ต้องใช้สถานที่มากในการจัดเก็บหนังสือ และไม่เสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
       3. ลดงานที่เกิดจากการซ่อม จัดเก็บ และการจัดเรียงหนังสือ
       4. ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานมาดูแลและซ่อมแซมหนังสือ
       5. มีรายงานแสดงการเข้ามาอ่านหนังสือ
     สำหรับสำนักพิมพ์และผู้เขียน
       1. ลดขั้นตอนในการจัดทำหนังสือ
       2. ลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงในการจัดพิมพ์หนังสือ
       3. ลดค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางอื่นๆ
       4. เพิ่มช่องทางในการจำหน่ายหนังสือ
       5. เพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์ตรงถึงผู้อ่าน
ข้อจำกัดของ E-book 
                เนื่องจากอาจเกิดปัญหากับการ ลง Hardware หรือ Software ใหม่หรือแทนที่อันเก่า  ดังนั้นจึงต้องมีโปรแกรมและเครื่องมือในการอื่น คือ Hardware ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ พร้อมทั้งระบบติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือ Software ที่ใช้อ่านข้อความต่างๆ ตัวอย่างเช่น Organizer แบบพกพา Pocket PC หรือ PDA เป็นต้น    การดึงข้อมูล E-Book ซึ่งจะอยู่บนเว็บไซต์ที่ให้บริการทางด้านนี้มาอ่าน ก็จะใช้วิธีการ Download ผ่านทางอินเตอร์เน็ตเสียเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามมิใช่ว่า Hardwareทุกชนิดจะอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดของชนิดไฟล์บางประเภทนั่นเอง ซึ่งต้องมีการแก้ปัญหาด้วยการนำ Software บางตัวมาช่วยสำหรับ Software  ที่ใช้งานกับ  E-Book ในปัจจุบันมีสองประเภทคือ Software ที่ใช้อ่านข้อมูลจาก E-Book และ Software ที่ใช้เขียนข้อมูลออกมาเป็น  E-Book  นอกจากนี้ผู้ใช้ต้องมีการดูแลไฟล์ให้ดี ไม่ให้เสียหรือสูญหาย คำนึงเสมอว่าการอ่านอาจเกิดอันตรายต่อสายตา E-Bookนี้ ไม่เหมาะกับบาง format เช่น รูปวาด รูปถ่าย แผนที่ใหญ่ เป็นต้น






ประวัติผู้เขียนบล็อค

ประวัติผู้เขียนบล็อค ชื่อ นางสาวหทัยชนก จันทรเสนา 583050185-6 ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิท...