วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Project 3 : E-book || หนทางสู่การเป็น E-book แสนยอดเยี่ยม


               หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับ E-book ไปอย่างเรียบร้อยแล้วขั้นถัดมาก็คือการลงมือทำ
แต่ก่อนที่กลุ่มเราจะได้ลงมือทำเราจะต้องมาเลือกเนื้อหาที่ะนำลงไปใส่ในตัวหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้ก่อน โดยกลุ่มเราจะสังเคราะห์เอาเฉพาะเนื้อหาที่สำคัญๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน รวมถึงรูปภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อหา เพื่อที่ E-book  ของเราจะได้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้นและเป็นการนำเสนอข้อมูลตามแบบของ E-book ที่จะต้องมีทั้งรูปภาพและวิดีโอ
 สำหรับโปรแกรมที่นิยมนำมาสร้าง E-book
 โปรแกรมชุด Flip Album
 โปรแกรม DeskTop Author
 โปรแกรม Flash Album Deluxe
สำหรับกลุ่มของพวกเราใช้โปรแกรม Flip Album
โดยเนื้อหาจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ Computer Networking
ส่วนนี้จะเป็นส่วนของหน้าปกซึ่งเราจะใช้สีที่ดูสบายตาคือสีเขียวทำให้ดูเป็นงานที่มีความวิชาการมากยิ่งขึ้น และรูปที่ใช้จะโยงไปถึงส่วนของสิ่งต่างๆที่นำมาเชื่อมโยงกันของเครือข่ายต่างๆนั้นเอง


ในส่วนถัดมาจากหน้าปกจะเป็นส่วนของคำนำ และสารบัญซึ่งจะมีเหมือนในหนังสือจริงๆเลยก็ว่าได้ แต่ความง่ายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ก็คือเราสามารถกดลัดข้ามหน้าไปหาหน้านั้นได้เลยนั่นเอง








ส่วนตั้งแต่คำนำสารบัญเป็นต้นไปจะเป็นส่วนของเนื้อหาทั้งหมด โดยกลุ่มเราจะเลือกเป็นโทนสีพื้นหลังเป็นสีขาวเพื่อให้ดูสะอาดตาและง่ายต่อการอ่านนอกจากนี้ยังมีการเน้นข้อความที่สำคัญให้เป็นตัวหนังสือตัวใหญ่เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านและเพื่อดึงดูดความสนใจ และแต่ละหัวข้อกลุ่มของเราจะมีการจัดตัวหนังสือแยกสีให้มีความชัดเจนเพื่อที่จะได้ง่ายว่ากลุ่มใดอยู่กับกลุ่มใด หัวข้อย่อยนี้อยู่ในกลุ่มหลักตรงส่วนใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านจดจำประเภทหัวข้อแต่ละอันได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย ทั้งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้ยังมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ทำให้สบายในการอ่านนั้นเอง

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Project 3 : E-Book | เริ่มต้นทำ e-book กัน


หลังจากที่เราได้ทำโปรเจ็กที่ 2 ผ่านไปแล้วเราก็มาเริ่มที่โปรเจ็กที่ 3 กันเล๊ยยยย โดยหัวข้อในการทำ e-book ของเราก็คือ ให้ทำเรื่องใดก็ได้เหมือนเป็นหนังสือที่ให้ความรู้ เหมือนเป็นหนังสือเรียนโดยมีขอบข่ายคือวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาซึ่งก่นที่เราจะไปทำ E-Book เราก็มาดูก่อนว่ามันคืออะไร


E-book ย่อมาจากคำว่า Electronic Book หมายถึงหนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์
อีบุ๊ค (eBook : electronic book) จะเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่ง ในยุคแรกๆ จะเป็นไฟล์แบบ PDF โดยเนื้อหาในไฟล์จะมีลักษณะเหมือนหนังสือจริงๆ ซึ่งจะใช้ในกระบวนการทำเพลท ยิงฟิล์ม ด้วยความที่มี ลักษณะเหมือนหนังสือจริงๆ แต่เป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ ทำให้ได้รับความนิยมในการนำไปใช้งาน เพราะหน้ากระดาษที่ได้จัดวางไว้อย่างไร ก็จะคงอยู่แบบนั้นไม่เปลี่ยนแปลงเหมือนการใช้งานพวกไฟล์ Word แต่ต้องเปิด อ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแท็บเล็ตพีซี

ประเภทของ E-book        
ผู้ผลิตสามารถเลือกสร้าง E-Books ได้ 4 รูปแบบ คือ  
Hyper Text Markup Language (HTML)
Portable Document Format (PDF)
Peanut Markup Language (PML)
Extensive Markup Language (XML)

ข้อเสียของ e-Book
1. ต้องอาศัยพลังงานในการอ่านตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าหรือแบตตารี่
2. เสียสุขภาพสายตา จากการได้รับแสงจากอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์
3. ขาดความรู้สึก หรืออรรถรส หรือความคลาสสิค 
4. อาจเกิดปัญหากับการ ลง hardware หรือ software  ใหม่หรือแทนที่อันเก่า
5. ต้องมีการดูแลไฟล์ให้ดี ไม่ให้เสียหรือสูญหาย
6. การอ่านอาจเกิดอันตรายต่อสายตา
7. เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ง่าย
8. ไม่เหมาะกับบาง format เช่น รูปวาด รูปถ่าย แผนที่ใหญ่ เป็นต้น
ประโยชน์ของ e-Book
     สำหรับผู้อ่าน
       1. ขั้นตอนง่ายในการอ่าน และค้นหาหนังสือ
       2. ไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บหนังสือ
       3. อ่านหนังสือได้จากทุกที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
     สำหรับห้องสมุด
       1. สะดวกในการให้บริการหนังสือ
       2. ไม่ต้องใช้สถานที่มากในการจัดเก็บหนังสือ และไม่เสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
       3. ลดงานที่เกิดจากการซ่อม จัดเก็บ และการจัดเรียงหนังสือ
       4. ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานมาดูแลและซ่อมแซมหนังสือ
       5. มีรายงานแสดงการเข้ามาอ่านหนังสือ
     สำหรับสำนักพิมพ์และผู้เขียน
       1. ลดขั้นตอนในการจัดทำหนังสือ
       2. ลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงในการจัดพิมพ์หนังสือ
       3. ลดค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางอื่นๆ
       4. เพิ่มช่องทางในการจำหน่ายหนังสือ
       5. เพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์ตรงถึงผู้อ่าน
ข้อจำกัดของ E-book 
                เนื่องจากอาจเกิดปัญหากับการ ลง Hardware หรือ Software ใหม่หรือแทนที่อันเก่า  ดังนั้นจึงต้องมีโปรแกรมและเครื่องมือในการอื่น คือ Hardware ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ พร้อมทั้งระบบติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือ Software ที่ใช้อ่านข้อความต่างๆ ตัวอย่างเช่น Organizer แบบพกพา Pocket PC หรือ PDA เป็นต้น    การดึงข้อมูล E-Book ซึ่งจะอยู่บนเว็บไซต์ที่ให้บริการทางด้านนี้มาอ่าน ก็จะใช้วิธีการ Download ผ่านทางอินเตอร์เน็ตเสียเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามมิใช่ว่า Hardwareทุกชนิดจะอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดของชนิดไฟล์บางประเภทนั่นเอง ซึ่งต้องมีการแก้ปัญหาด้วยการนำ Software บางตัวมาช่วยสำหรับ Software  ที่ใช้งานกับ  E-Book ในปัจจุบันมีสองประเภทคือ Software ที่ใช้อ่านข้อมูลจาก E-Book และ Software ที่ใช้เขียนข้อมูลออกมาเป็น  E-Book  นอกจากนี้ผู้ใช้ต้องมีการดูแลไฟล์ให้ดี ไม่ให้เสียหรือสูญหาย คำนึงเสมอว่าการอ่านอาจเกิดอันตรายต่อสายตา E-Bookนี้ ไม่เหมาะกับบาง format เช่น รูปวาด รูปถ่าย แผนที่ใหญ่ เป็นต้น






วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Project 2 : E-Newsletter ||| ความสำเร็จแห่งผลงาน





หัวข้อข่าวเป็นเรื่องของการศึกษา ดังนั้นกลุ่มของเราก็ได้เลือกมาหลายข่าวแต่ก็มีข่าวที่โดนใจอยู่นั่นก็คือเป็นข่าวเกี่ยวกับการยึดการสอนแบบพระบาทสมเด้จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9





เป็นภาพน่ารักๆสร้างความน่าอ่านให้กับ enewsletter ของเรา





วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Project 2 : E-Newsletter || เส้นทางแห่งผลงาน


STEP 1 รวมกลุ่มประชุมเพื่อออกแบบโครงของงาน
                                             






STEP 2โดยเมื่อเราเข้ากลุ่มรวบรวมข้อมูลแล้ว ก็นำมาสู่ โครงของงานที่กลุ่มเราได้ออกแบบไว้โดยเราได้ออกแบบไว้ทั้งหมด 3 แบบ ไปดูกันเลยว่าทั้งสามแบบเป็นยังไงบ้าง



แบบที่1 แบบแรกนี้เราจะออกแบบให้ส่วนหัวอยู่ด้านบนจะป็นรูปที่เกี่ยวกับการศึกษาต่างๆ ต่อลงมาจะเป็นส่วนของส่วนเลือกเมนูว่าเราจะเข้าไปสู้หน้าใด ทางด้านขวาจะป็นส่วนของโฆษณา และข้อมูลการศึกษาต่างๆ ส่วนตรงกลางกระทั่งเยื้องไปทางซ้ายจะเป็นส่วนของเนื้อหาข่าวการศึกษาท้งหมด และจะทำเป็นช่องๆสี่เหลี่ยม โดยจะใช้โทนสีเป็นสีฟ้ากับเขียว


แบบที่ 2 เราจะออกแบบให้ในส่วนที่เป็นหัวข้อข่าวเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กและก็กระจายอยู่เต็มในส่วนของเว็บ และมีส่วนของหัวเว็บอยู่ด้านบน โดยจะใช้สีเขียวเข้มกับสีน้ำตาลเป็นหลักในการทำเว็บเพื่อให้ดูคลุมไปทางโทนสีวรรณะเย็น เพื่อให้ดูสบายตาแก่ผู้อ่าน


แบบที่ 3 ในส่วนนี้เป็นส่วนที่กลุ่มเราเชือกใช้ โดยจะมีรูปส่วนหัวอยู่ด้านบนเป็นส่วนของรูปเกี่ยวกับกรศึกษาต่างๆ และล่างลงมาจะเป็นส่วนของรายการหลักเมนูนั่นเอง ตรงส่วนของข่าวอยู่ตรงกลาง ล่างสุดจะเป็นส่วนของล็อกอิน  โดยจะใช้มชสีครีม สีไข่เป็นหลัก



วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Project 2 : E-Newsletter | ก้าวสู่ e-newsletter


   Project 2 :  E-newsletter  
หลังจากที่  Project 1 ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี(หรือเปล่า) เราก็มาเริ่มทำ   Project 2กันเล๊ยยยย โดยมีขอบเขตหัวข้อที่ว่า การศึกษา เมื่อเราได้หัวข้อแล้ว เราก็ต้องมาดูว่าองค์ประกอบของ E-newsletter  มีอะไรบ้าง เพื่อจะนำข้อมูลที่ได้ ไปใช้ในการคิดหัวข้อเพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมและถูกต้อง
             E-newsletter  คือ  จดหมายข่าวสารที่อยู่ในรูปของการส่งแบบออนไลน์  เป็นสื่อที่ได้รับความประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวางสำหรับผู้ผลิต ผู้เผยแพร่ และผู้อ่าน ผู้เผยแพร่สามารถติดตามอัตราการเปิดอีเมล์ที่ส่งต่อและการคลิก ดังนั้นจึงสามารถวัดความสนใจของผู้อ่านในข่าวนั้นๆนอกเหนือจากการส่งแล้ว เรายังสามารถจัดการกับรายชื่อผู้รับได้โดยเพิ่มรายชื่อหรือคัดลอกตามต้องการ เราสามารถรู้ได้ว่าอีเมลข่าวที่ส่งไปฉบับใดบ้างที่ไปไม่ถึงผู้รับโดยตรวจสอบจากฉบับที่เด้งกลับมา  ทั้งนี่การเลือกส่งข้อความไปยังกลุ่มผู้อ่านที่แตกต่างกันสามารถทำได้ หรือแม้แต่การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์พฤติกรรมหรือความชอบของผู้อ่านจากข้อมูลที่ผู้อ่านตอบรับมา เมื่อมีองค์ประกอบทั้ง 3 อย่างนี้ E-newsletter ก็จะเกิดขึ้น
ระบบ E-Newsletter มีการทำงานและมีประโยชน์ ดังนี้
-จัดทำ Newsletter เพื่อส่งเป็น E-mail ในรูปแบบของ HTML ที่สวยงาม
-มี Report รายงานว่าได้เปิดอ่านและได้คลิกอีเมล์หรือไม่
-ระบบส่งด้วย Mail Server ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ ทำให้ส่งได้เป็นจำนวนมาก
-มีวิธีการส่งถูกต้องตามกฏขององค์กรตรวจจับ Spam ทุกประการจึงไม่มีคำว่าเป็นอีเมล์สแปม
-การส่งอีเมล์นิวส์เล็ตเตอร์สามารถส่งครั้งเดียวได้หลาย Address ไม่ต้องคอยส่งทีละครั้ง ไม่ต้องคอยรับ reply mail จากผู้ส่ง

-เพียงผู้รับเปิดอ่านอีเมล์ ระบบก็ทราบได้ทันทีว่าอีเมล์ถูกเปิดอ่าน

เรามาดูตัวอย่าง e-newsletter กันดีกว่า




ที่มา http://ladict.asia/web-solutions/newsletter-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

ประวัติผู้เขียนบล็อค

ประวัติผู้เขียนบล็อค ชื่อ นางสาวหทัยชนก จันทรเสนา 583050185-6 ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิท...